จิตรกรรมฝาผนังในเอเชีย มีเอกลักษณ์โดดเด่น
เฉพาะตัว แต่ชาวตะวันตกไม่ค่อยจะรู้จักกันมากนัก
ซึ่งอาจจะเนื่องจากอยู่คนละซีกโลก และการขาด
ความรู้เกี่ยวกับโลกตะวันออก ดังนั้นโลกปัจุบันที่
มีกลิ่นอายของโลกตะวันตกคลุมอยู่ จึงสูญเสียขุม
ทรัพย์ทางปัญญาจากโลกตะวันออกอันสำคัญยิ่ง
ซึ่งนับน่าเสียดายเป็นอย่างมาก
จิตรกรรมฝาผนังของไทย จะไม่มีความลึกของภาพ โดยหลักทัศนียวิทยา (perspective)
แบบศิลปฝรั่ง (กล่าวคือมีวัตถุมีขนาดใหญ่ๆอยู่ใกล้ผู้ดูภาพแล้วค่อยๆเล็กลงไปจนสุด
สายตา) แต่จะเป็นการเขียนภาพที่ตัวละครและสิ่งของต่างๆ มีขนาดเท่ากัน แต่ผลักระยะ
ให้ห่างออกไป ด้วยการใช้พื้นที่และน้ำหนักของสี แบ่งภาพเป็นช่องๆ เล่าเรื่องราวต่างๆ
โดยใช้ภูเขาบ้าง ต้นไม้บ้าง คั่นเพื่อแบ่งเรื่องของภาพ โดยเฉพาะการใช้เส้นหยักๆ ขนาด
ใหญ่ๆ หรือไม่ก็เส้นที่คล้ายคลื่น เพื่อแบ่งภาพ ที่เราเรียกกันว่าเส้นสินเทา
|
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน จิตรกรรมฝาผนัง
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ

พระพุทธเจ้าทรงประสูติ จิตรกรรมฝาผนัง พระท่ี่่ีนั่ง
พุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ
จิตรกรรมฝาผนังของไทยยุคก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ซึ่งคือยุคกรุงศรีอยุธยานั้น สกุลช่างอยุธยาจะใช้สีน้อยมาก เช่น แดงจากชาด ดำจากเขม่าควัน ขาวและเหลืองจากดินขาวดินเหลือง และสีทองจากทองคำเปลว แต่พอเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์และรัตนโกสินทร์ตอนปลาย การใช้สีจะหลากหลายมากขึ้น เพราะมีสีวิทยาศาสตร์จากจีนและญี่ปุ่นนำเข้ามา มีการใช้เส้นนำสายตาสร้างความลึกของภาพแบบฝรั่ง (perspective) ไม่เป็นภาพแบนๆอีกต่อไป และมีโครงสร้างสีคล้ายกับว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปอิมเพรสชั่นนิสต์ แต่อย่างไรก็ตามจิตรกรรมฝาผนังไทยก็ยังคงมีเอกลักษณ์ของตัวเองอย่างเหนียวแน่น
|
 |
|
จิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัตนโกสินทร์เปรียบเทียบกับสมัยอยุธยา สมัยอยุธยาจะใช้สีน้อยกว่า การใช้เส้นสบัดแรงกว่า สมัยรัตนโกสินทร์จะใช้สีมาก ตัดเส้นละเอียด นิยมทำฉากหลังเป็นสีเข้ม เพื่อให้ตัวละคอนเด่นออกมา ภาพซ้ายมือคือจิตรกรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ภาพขวามือคือจิตรกรรมที่วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ |
ภาคภาษาไทย
โดย กลองสบัดไชย
บรรณาธิการที่ปรึกษาเนื้อหา : ผศ.ปกรณ์ พรหมวิทักษ์
บรรณาธิการ : แซม ฟอร์คเนอร์
All rights reserved. None of the content on Thai Art Magazine may be reproduced with out express consent. Copyright © 2005, 2011 Bangkok, Thailand.