English Version
บทนำ
พระพุทธรูปสุโขทัย
ศิลปไทยร่วมสมัยของไทย

จิตรกรรมฝาผนังในเอเชีย มีเอกลักษณ์โดดเด่น
เฉพาะตัว แต่ชาวตะวันตกไม่ค่อยจะรู้จักกันมากนัก
ซึ่งอาจจะเนื่องจากอยู่คนละซีกโลก และการขาด
ความรู้เกี่ยวกับโลกตะวันออก ดังนั้นโลกปัจุบันที่
มีกลิ่นอายของโลกตะวันตกคลุมอยู่ จึงสูญเสียขุม
ทรัพย์ทางปัญญาจากโลกตะวันออกอันสำคัญยิ่ง
ซึ่งนับน่าเสียดายเป็นอย่างมาก

จิตรกรรมฝาผนังของไทย จะไม่มีความลึกของภาพ โดยหลักทัศนียวิทยา (perspective)
แบบศิลปฝรั่ง (กล่าวคือมีวัตถุมีขนาดใหญ่ๆอยู่ใกล้ผู้ดูภาพแล้วค่อยๆเล็กลงไปจนสุด
สายตา) แต่จะเป็นการเขียนภาพที่ตัวละครและสิ่งของต่างๆ มีขนาดเท่ากัน แต่ผลักระยะ
ให้ห่างออกไป ด้วยการใช้พื้นที่และน้ำหนักของสี แบ่งภาพเป็นช่องๆ เล่าเรื่องราวต่างๆ
โดยใช้ภูเขาบ้าง ต้นไม้บ้าง คั่นเพื่อแบ่งเรื่องของภาพ โดยเฉพาะการใช้เส้นหยักๆ ขนาด
ใหญ่ๆ หรือไม่ก็เส้นที่คล้ายคลื่น เพื่อแบ่งภาพ ที่เราเรียกกันว่าเส้นสินเทา



พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน จิตรกรรมฝาผนัง
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ


 

พระพุทธเจ้าทรงประสูติ จิตรกรรมฝาผนัง พระท่ี่่ีนั่ง
พุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ


จิตรกรรมฝาผนังของไทยยุคก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ซึ่งคือยุคกรุงศรีอยุธยานั้น สกุลช่างอยุธยาจะใช้สีน้อยมาก เช่น แดงจากชาด ดำจากเขม่าควัน ขาวและเหลืองจากดินขาวดินเหลือง และสีทองจากทองคำเปลว แต่พอเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์และรัตนโกสินทร์ตอนปลาย การใช้สีจะหลากหลายมากขึ้น เพราะมีสีวิทยาศาสตร์จากจีนและญี่ปุ่นนำเข้ามา มีการใช้เส้นนำสายตาสร้างความลึกของภาพแบบฝรั่ง (perspective) ไม่เป็นภาพแบนๆอีกต่อไป และมีโครงสร้างสีคล้ายกับว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปอิมเพรสชั่นนิสต์ แต่อย่างไรก็ตามจิตรกรรมฝาผนังไทยก็ยังคงมีเอกลักษณ์ของตัวเองอย่างเหนียวแน่น



 
 

จิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัตนโกสินทร์เปรียบเทียบกับสมัยอยุธยา สมัยอยุธยาจะใช้สีน้อยกว่า การใช้เส้นสบัดแรงกว่า สมัยรัตนโกสินทร์จะใช้สีมาก ตัดเส้นละเอียด นิยมทำฉากหลังเป็นสีเข้ม เพื่อให้ตัวละคอนเด่นออกมา ภาพซ้ายมือคือจิตรกรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ภาพขวามือคือจิตรกรรมที่วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ










ภาคภาษาไทย โดย กลองสบัดไชย
บรรณาธิการที่ปรึกษาเนื้อหา : ผศ.ปกรณ์ พรหมวิทักษ์
บรรณาธิการ : แซม ฟอร์คเนอร์

All rights reserved. The content on Thai Art Magazine may be reproduced with express consent from SamForkner dot Org. Copyright © 2005, 2011 Bangkok, Thailand.