ศิลปไทยร่วมสมัยของไทย
English Version | บทนำ | จิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย | พระพุทธรูปสุโขทัย

ฉบับที่ 4




      เมื่อพูดถึงศิลปไทยเรา   ก็มักนึกถึงวัดวาอาราม
เจดีย์ หรือไม่ก็เครื่องประดับมุก   เครื่องถ้วยเบญจรงค์  
หรือ   ไม่ก็นึกไปถึงโบราณสถานแถวอยุธยา   สุโขทัย
ศรีสัชนาลัย   ฯลฯ   แท้จริงแล้วศิลปไทยหลายประเภทก็
ไม่ได้ไกลไปจากวัดมากนัก   เพราะวัดเป็นแหล่งรวมของ
งานช่างประเภทต่างๆ   เช่น   ช่างแกะ   ช่างปั้น   ช่างเขียน
ฯลฯ   เนื่องจากคนสมัยก่อนจะนิยมสร้างศิลปเพื่ออุทิศให้
ศาสนา   งานศิลปไทยจึงมีให้เห็นตามวัดวาต่างๆมากมาย

      พอมาถึงคำว่า   “ร่วมสมัย”   เราก็คงนึกถึงคำว่า
“อินเทรนด์”   หรือ   “เด็กแนว”   ที่เข้ามาแทนคำว่า
“มะกัน”   ที่เราใช้กันเมื่อ 15   ปีก่อน   ซึ่งจริงๆ   แล้ว
ความเข้าใจเช่นนี้ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว   และเมื่อ   คำ 2
คำนี้มารวมกัน   แล้วหลายคนก็จะนึกภาพเป็นคล้ายกับว่า
คือศิลปสมัยใหม่ที่มีลักษณะออกไทยๆ   มีสีแดง   สีทอง
มีภาพเทวดา   ลายกนก   แทรกๆอยู่   ฯลฯ   หรือหาก
ทันสมัยสุดๆ   ก็เป็นประเภทศิลปแนวนามธรรม   ที่มีสีป้าย
ไปป้ายมา   เลอะๆ   มองไม่รู้เรื่องว่าเป็นรูปอะไร   แต่ก็มี
อารมณ์และความรู้สึกแบบไทยอยู่ในนั้น   และที่
สำคัญสร้างสรรค์โดยศิลปินไทย



พิชัย นิรันดร์ (Pichai Nirand), “เส้นทางธรรม” (The Great Truth of Way), ๒๕๒๒ (2522 BE or 1972 AD), 125 x 157 cm, Oil on canvas

      ซึ่งก็ถูกทั้ง   2   อย่าง   จะเขียนแนวประยุกต์ศิลปไทย
มาทำให้ดูทันสมัย   หรือแนวนามธรรมล้วนๆที่ไม่มีร่อย
รอยของกนกเหลืออยู่เลย   ย่อมมีวิญญานที่เป็นคนไทยอยู่
ในงานศิลปชิ้นนั้นๆอยู่ดี   เพราะศิลปินผู้สร้างศิลปนั้นล้วน
หล่อหลอมสภาพแวดล้อม   ค่านิยม   ความรู้สึกนึกคิด
บรรยากาศจากสังคมไทย   แม้ว่าจะสร้างศิลปร่วมสมัยของ
ไทยแนวไหน   ก็ย่อมมีความรู้สึกแบบไทยทั้งสิ้น



ทวี นันทขว้าง (Tawee Nantakawang), “ดอกบัว” (Lotus), ๒๔๙๙ (2499 BE or 1956), 120 x 181 cm, oil on canvas

      เดิมจิตรกรรมฝาผนังของไทยเขียนบนผนังโบสถ์
สมุดข่อย   ตู้พระธรรม   ผ้าแขวน   มีลักษณะเฉพาะตัว
มีลักษณะเด่นๆอยู่   4-5   ประการ   เช่น   เขียนด้วยสีฝุ่น
มีตัวพระ   ตัวนาง   รูปร่างอ่อนช้อย   ปิดทองร่องชาด
อร่ามตา   (โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของเทวดาและ
กษัตริย์)   เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา   ภาพมี
ลักษณะแบนๆ   ไม่มีความลึกแบบเส้นนำสายตาตาม
หลักทัศนียวิทยา   (perspective)   การเล่าเรื่องจะเขียน
ภาพตามมุมนั้นมุมนี้   โดยสามารถเดินดูภาพที่เล่าเรื่อง
ไปได้   เรื่อยๆ   ดูรูปแรกแล้วดู   ด้านข้างบ้าง   สูงบ้าง
ต่ำบ้าง   เช่น   ภาพพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวช   พื้นที่
ด้านบนเหนือขึ้นไป   ก็จะเป็นภาพพระพุทธองค์กับ
ม้ากัณฑกะและนายฉันนะ   อีกมุมใกล้ๆกัน  
ก็เป็นภาพพระพุทธองค์ทรงตัด   พระเมาฬีริมฝั่ง
แม่น้ำอโนมา   เป็นการเล่าพุทธประวัติ   เป็นฉากๆ
เล่าเรื่องไปเรื่อยๆเต็มผนังจนจบ



ทวี นันทขว้าง (Tawee Nantakawang), “ถูเขาทอง” (Golden Pagoda (Pu Kao Tong)), year unknown, 52 x 65 cm, oil on canvas

      จวบจนกระทั่งต่อมาขรัวอินโข่งได้ปฎิวัติการเขียนภาพ
แม้จะเล่าเรื่องแบบเดิมก็ตาม   แต่เขียนภาพให้ดูมีระยะ
มีเส้นนำสายตา   ทำให้ภาพดูแล้วเกิดความลึก   จัดได้ว่า
เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคลี่คลาย   เปลี่ยนยุคของ
จิตรกรรมไทย จนกระทั่งประเทศไทย   ได้เพชรเม็ดงาม
ทางศิลปจากอีกซีกโลกหนึ่ง   เดินทางมาเมืองไทย
แล้ววางรากฐานการศึกษาศิลปสมัยใหม่ให้กุลบุตร
และกุลธิดาของชาติ   บุคคลผู้นั้นก็คือ   ศาสตราจารย์
ศิลปพีระศรี   นั่นเอง   ศาสตราจารย์ศิลป   พีระศรี   เป็น
ชาวเมืองฟลอเรนซ์ประเทศอิตาลี   เดิมชื่อ   ซี ฟิโรจี
ท่านเป็นศิลปินที่ทางรัฐบาลไทยขอให้มาช่วยงานด้าน
ศิลปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6   ท่านเป็นผู้ออกแบบ
ปั้นรูปอนุสาวรีย์สำคัญต่างๆ   เช่น   อนุสาวรีย์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช   อนุสาวรีย์
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช   อนุสาวรีย์
ท้าวสุรนารี   ออกแบบและปั้นภาพนูนสูงอนุสาวรีย์
ประชาธิปไตย   ฯลฯ

 



สวัสดิ์ ตันติสุข (Sawasdi Tantisuk), “สายลม” (Breeze), ๒๕๓๖ (2536 BE or 1993), 70 x 90 cm

      เมื่อท่านย่างก้าวเข้ามาเมืองไทย   ท่านตะลึงพึงเพริศ
ในศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก   ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ
อยุธยา   สุโขทัย   ศรีสัชนาลัย   ลพบุรี   ฯลฯ   รวมถึง
ความเป็นผู้มีศิลปในหัวใจและในสายเลือดของคนไทย
ที่ไม่แพ้กรีกและโรมันบ้านเกิดของท่านเลย   ท่านจึงตัด
สินใจอุทิศชีวิตของท่านให้กับกุลบุตรและกุลธิดาของไทยนับ
แต่นั้น อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยตลอดช่วงปี   พ.ศ 2486
ถึง   พ.ศ   2505   โดยร่วมมือกับสถาปนิกมือฉมังของไทย
ซึ่งก็คือพระพรหมพิจิตร   ก่อตั้งโรงเรียนประณีต
ศิลปกรรมขึ้น   ซึ่งต่อมาโรงเรียนนี้ก็เปลี่ยนสถานภาพมา
เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปัจจุบัน

      ท่านมีคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง
ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่สร้างใว้ในประเทศไทย   แต่ง
ตำราศิลป   ค้นคว้าวิจัยศิลปไทย   นำศิลปไทยไปเผยแพร่
ยังต่างประเทศ   ชักชวนให้รัฐบาลและผู้นำทางทหารให้
ใส่ใจต่อศิลปของชาติ   นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้ให้
กำเนิดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติที่จัดแสดงมาจนถึง
ทุกวันนี้   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับท่านก็คือ
การอบรมบ่มเพาะคนไทยให้มีความรู้ทางศิลปสมัยใหม่
จนทำให้เกิดศิลปินร่วมสมัยจำนวนมาก   การถ่าย
ทอดความรู้ทางศิลปสมัยใหม่และศิลปตะวันตก   เป็น
เสมือนสายธารวิชาการสายมหึมา   แก่เยาวชนผู้มี
ความสามารถ   โดยเฉพาะในคณะจิตรกรรมและ
ปฎิมากรรม   (ชื่อในขณะนั้น)   มหาวิทยาลัยศิลปากร
ความรู้ทางศิลปใหม่ๆจากท่านเช่น   กายวิภาคศาสตร์
(การเขียนภาพคนและสัตว์ให้ถูกต้องตามลักษณะกระดูก
และกล้ามเนื้อ anatomy)   ทฤษฎีสี   (การใช้สี)
ทัศนียวิทยา   (การเขียนภาพให้แลดูมีความลึก
perspective)   ประวัติศาสตร์ศิลปสากล   เทคนิคและ
ปรัชญาทางศิลป   บ่มเพาะความสามารถแก่ศิษย์รุ่นแรกๆ
จนเก่งกล้า   และต่อมาศิษย์รุ่นแรกๆ   ของท่านนอกจาก
จะเป็นศิลปินแล้วหลายคนก็มีอาชีพเป็นครู   อาจารย์สอน
ศิลป   เป็นผู้ถ่ายทอดศิลปวิทยาแก่นักศึกษารุ่นหลังๆ โดย
เฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร   วิธีการสอน
ความคิด   เนื้อหาตามปรัชญาของท่าน   ถูกถ่ายทอด
ต่อมาเป็นรุ่นๆ   จวบจนทุกวันนี้   นับว่าวิชาความรู้จาก
ท่าน   มิได้มีแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่เท่านั้น   แต่สืบต่อ
เนิ่นนานจนถึงปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

      วิริยะอุตสาหะของท่านส่งผล   ทำให้ศิลปินไทยกวาด
รางวัลนานาชาตินับไม่ถ้วน   ทำให้เกิดผู้สอน   ศิลประดับ
ดีของประเทศ   จนสามารถกล่าวได้ว่าท่านเป็นบิดาแห่ง
ศิลปสมัยใหม่ของไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ   ศิษย์รุ่นแรกๆ
ของท่าน   แม้จะเกษียณหรือจากโลกนี้ไปบ้างแล้วก็ตาม
ได้ฝากผลงานศิลปที่มีคุณค่ามากมาย   เช่น   เพื้อ
หริพิทักษ์,   ถวัลย์   ดัชนี,   ทวี   นันทขว้าง, ประยูร
อุลุปาฎะ,   ชลูด   นิ่มเสมอ,   ประหยัด   พงษ์ดำ,
บัณทิต   ผดุงวิเชียร,   ตามด้วยศิลปินรุ่นต่อๆมา   เช่น
รุ่ง   ธีระพิจิตร,   ปรีชา   เถาทอง,   วิโชค   มุกดามณี,
เขมรัตน์   กองสุข,   อิทธิพล   ตั้งโฉลก,   เฉลิมชัย
โมษิตพิพัตน์,   คามิน   เลิศชัยประเสริฐ,   ถาวร
โกอุดมวิทย์,   อารยา   ราษฎร์จำเริญสุข,   ศราวุธ
ดวงจำปาฯลฯ   ศิลปินร่วมสมัยเกิดขึ้นคนแล้วคนเล่า
แล้วศิลปินเหล่านี้   ก็นำความรู้ที่ได้   ผลิตศิลปินคนอื่นๆ
เป็นลูกโซ่ต่อไปอีก   ไม่ว่าจะเป็นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ   มหาวิทยาลัยบูรพา   ฯลฯ

      ทำให้วงการศิลปร่วมสมัยของไทย   แพร่ขยาย
เจริญ   รุ่งเรืองไม่แพ้ประเทศใดในโลก   ทำให้คณะ
จิตรกรรมปฎิมากรรมและภาพพิมพ์   และมหาวิทยาลัย
ศิลปากรเป็นคณะและมหาวิทยาลัยแห่งศักดิ์ศรีของประเทศ
ก่อนจะแตกตัวเป็นคณะมัณฑนศิลป์ในช่วงแรกๆ   และแผนก
อื่นตามมา   ที่มีการเรียนการสอนการออกแบบต่างๆ   ที่ได้
รากฐานศิลปบริสุทธิ์อย่างมั่งคั่งจากคณะจิตรกรรมฯ   แล้ว
ประยุกต์สู่งานออกแบบ   หากเราดูภาพประกอบฉบับนี้จะ
เห็นว่าผลงานของศิลปินร่วมสมัยของไทยมีครบครัน
หลากหลายในรูปแบบของการแสดงออก   หากจะกล่าว
โดยสังเขปก็คือ   ช่วงแรกๆของศิลปร่วมสมัยของไทยจะ
เป็นแนวเหมือนจริงตามธรรมชาติและบัณฑิตศิลปากร
รุ่นแรกๆ   ขณะที่เป็นอาจารย์สอนศิลปะมักจะได้ทุนไป
ศึกษาต่อในประเทศยุโรป โดยเฉพาะประเทศอิตาลี งาน
ศิลปร่วมสมัยยุคนั้นๆมักจะได้รับอิทธิพลมาจากศิลป
Impressionism และ Postimpressionism
ผสมกับแนว Cubism บางส่วนมีเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธ
และวิญญานตะวันออก จนกระทั่งมาถึงแนวเพื่อชีวิต และแนว
สะท้อนสังคมในช่วง 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2516 จากนั้นก็เติบโตอย่างอิสระมากขึ้น มีการใช้
เทคนิคและวัสดุต่างๆเสนอความคิด รูปแบบศิลปก็เปลี่ยนเป็น
การเสนอความคิด (conceptual art) และเป็นศิลปจัดวาง
(installation) วงการศิลปร่วมสมัยมีสถาบันการศึกษา
เปิดสอนศิลปร่วมสมัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะระดับมหาวิทยาลัย
องค์กรต่างๆก็ให้ทุนจัดประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประชาชน
เริ่มเข้าชมศิลปสมัยใหม่ตามหอศิลปต่างๆ เช่นหอศิลปะใน
มหาวิทยาลัยศิลปากร , หอศิลป์สิริกิต์, หอศิลป์จามจุรี
ฯลฯ ตามโรงแรมต่างๆ ก็จัดแสดงงานเพื่อสนองผู้ซื้อชาว
ต่างประเทศ และเร็ววันนี้หอศิลปสมัยใหม่แห่งชาติก็กำลังจะ
สร้างตามมา ทำให้ศิลปของไทยมีความเป็นสากลมากขึ้น
ศิลปร่วมสมัยของไทยจึงน่าสนใจในการคลี่คลายแสวงหาอย่าง
ไม่หยุดยั้ง ซึ่งเราต้องติดตามกันต่อไป


ภาคภาษาไทย
โดย กลองสบัดไชย



ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ (Paitun Muangsomboon), “ลูกแพะ” (Kid), year and size not submitted, bronze




ถวัลย์ ดัชนี (Thawan Duchanee), for more information www.queengallery.org.




มณเฑียร บุญมา (Montien Boonma), Melting Void: Molds for the Mind, 1999, Metal, plaster and gold, 270 x 150 x 155 cm (photgraph coutesy of ART for the world, Geneva)










ไทย อาร์ต แมกกาซีน
บรรณาธิการที่ปรึกษาเนื้อหา : ผศ.ปกรณ์ พรหมวิทักษ์
บรรณาธิการ และอำนวยการเว็บ: แซม ฟอร์คเนอร์



All rights reserved. The content on Thai Art Magazine may be reproduced with express consent from SamForkner dot Org. Copyright © 2005, 2011 Bangkok, Thailand.