Praputtachinarat Buddha image
English Version | ศิลปไทยร่วมสมัยของไทย | จิตรกรรมฝาผนังประเทศไทย | บทนำ

พระพุทธรูปสุโขทัย

ศิลปะชั้นคลาสสิคที่น่าภูมิใจของชาติ


Buddha hand pixel

ในบรรดาศิลปที่คนไทยเราน่าจะภาคภูมิใจมากที่สุดนั้นก็คือ
ความงามของพระพุทธรูปสุโขทัย
ทำไมจึงกล่าวว่าพระพุทธรูปสุโขทัยงดงามสูงสุด
หากเราจะแยก องค์ประกอบทางศิลปออกเป็น
2 อย่างคือองค์ประกอบ (composition) และ
ความรู้สึก (emotion) แล้ว เราจะเห็นว่า
ในแง่องค์ประกอบศิลป์ พระพุทธรูปสุโขทัย
มีความงดงามในแง่ สัดส่วน ไม่ว่าจะเป็น
สัดส่วนของ พระพักตร์
พระเกศ       พระศอ       พระวรกาย
พระกรและ       พระเพลา


ได้สัดส่วนรับกันอย่างงดงามไม่มีใครดูแล้วรู้สึกว่า
"ไม่ลงตัว" "โดด" หรือ "ข่ม"
จนดูแล้วรู้สึก "อึดอัด" "ไม่สมดุลย์"

สำหรับเส้นเราจะเห็นชัดๆว่ามี 2 เส้น คือ เส้นที่ดิ่งตรง (ถ้าเราลากเส้นจากปลายพระเกศหรือพระเมาลีที่เป็นรูป เปลวเพลิงลงมายังกึ่งกลางมาถึงฐาน) เส้นนี้ทำให้เกิด ความรู้สึก "นิ่งสงบ" อันคือปรัชญาแห่งพุทธศาสนา ส่วนเส้นรอบนอกจะอ่อนหวานโดยดูจากเส้นรอบนอก ขององค์พระจากปลายพระเกศลงมาถึงพระบาท ยังไม่ รวมถึงแนวพระพักตร์ โดยเฉพาะแนวพระกรที่ไหลลาด ลงงดงาม

ปริมาตรของงานประติมากรรม พระพุทธรูป สุโขทัยก็มีความงามลงตัว เช่นความนูนของ พระพักตร์ ความโค้งเว้าของพระวรกาย ความกลมกลึงของลำพระกรและพระหัตถ์ ซึ่ง สิ่งเหล่านี้เราจะเห็นได้จากแสงที่กระทบบริมาตร เหล่านี้ เกิดส่วนสว่างและส่วนทึบบนองค์ พระพุทธรูป เกิดน้ำหนักได้อย่างสวยงาม สัดส่วน เส้นดิ่งกับเส้นรอบนอกและปริมาตรที่ ลงตัว เหล่านี้คือความงามทางองค์ประกอบ ศิลป ที่ถือได้ว่าช่างสุโขทัยได้พัฒนาผีมือขึ้น มาจนถึงจุดสูงสุดของศิลป ที่สามารถจะเรียก ได้ว่าเป็นศิลปคลาสสิคเลยทีเดียว กล่าวคือเป็น ศิลปกรรมที่อยู่ในยุคที่มีลักษณะงดงามสูงสุด ชนิดที่ไม่มียุคใดจะเทียบเท่าได้ ต่อจากความงามเชิงองค์ประกอบศิลปที่สามารถ มองเห็นด้วยตา ก็มาถึงความงามทาง ความรู้สึก เราจะเห็นว่าหากเรามองพระพุทธรูปยุคสุโขทัย ด้วยสมาธิและใจสงบนิ่ง แล้วมองดูนานๆ

pixel Sitting Buddha image at Wat Suthat

เราจะเกิดความรู้สึกอิ่มเอิบ ร่มเย็น สูงส่ง สงบสุข ทำให้เราจับได้ว่า ประชาคมชาว สุโขทัยมีความสุขกันมากและอาณาจักรสุโขทัย คงรุ่งเรืองถึงขีดสุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า พระมหกษัตริย์กรุงสุโขทัยเป็นมหากษัตริย์ที่ ทรงพระปรีชาสามารถและทรงทศพิธราชธรรม เป็นที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคนไทยปัจจุบันนี้เป็น อย่างยิ่ง ศิลปสะท้อนให้เห็นอารมณ์ใด ย่อมมาจากจิตใจศิลปินและสภาพแวดล้อม ของอารมณ์นั้น อารมณ์จากพระพุทธรูปสุโขทัยเป็นอารมณ์แห่งความศิวิไลซ์ของชาติ ไทยโดยแท้ การได้อยู่เบื้องหน้าพระพุทธรูปสุโขทัยเสมือนได้สักการะบูชาองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมีพุทธลักษณะสง่างาม เส้นสาย ทางศิลปอ่อนช้อย สมเป็นรูปเคารพแทนพระพุทธองค์ พระพักตร์ เอิบอิ่มเต็มเปียมไปด้วยพระเมตตา ขอให้เราดูพระพุทธรูปปางลีลา ที่เสมือนพระพุทธองค์กำลังเสด็จพระราชดำเนินพามวลมนุษย์ไป สู่สวรรค์ เส้นสายของพระกร พระหัตถ์ พระขนง พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ สังฆาฎิ ล้วนรู้สึกถึงความเป็น “ทิพย์” อยู่ตลอดเวลา

  • อาณาจักรสุโขทัยมีความรุ่งเรืองมากที่สุดในยุคสมัยพ่อขุน
  • รามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงค์พระร่วง
  • พระองค์ทรงเลื่อมใสในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก

Walking Buddha image Walking Buddha image hand Walking Buddha image

พระพุทธรูปสุโขทัยสร้างขึ้นในศตวรรณที่ 19–20 และมาเฟื่องฟูในสมัยพระยาลิไท ซึ่งทรงสนพระทัยในการศึกษาทางพุทธศาสนา วัตถุทางพุทธศาสนาได้สร้างขึ้นอย่างมาก มายในสมัยของพระองค์ นับได้ว่าเป็นยุคทองของศิลปสุโขทัยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะ พระศรีศากยมุนีซึ่งประดิษฐานในวิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกลางกรุงสุโขทัย (ปัจจุบันอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม) โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดอาราธนามาประดิษฐาน ความงามของพระพุทธรูปสุโขทัยแม้ว่าจะได้รับ อิทธิพลมาจากประเทศลังกาก็ตาม ประติมากรชาวไทยยังได้ดัดแปลงจนมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว แล้วพัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุด จนเป็นความงามบริสุทธิ์ชนิดหาใดเปรียบมิได้

Sitting Buddha image at Wat Benjabophit

ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปสุโขทัยนั้นก็คือ
พระพักตร์เป็นหน้านางหรือรูปไข่
พระเนตรหลบต่ำเปี่ยมไปด้วยความเมตตา
พระศกจะมีขมวดก้อนหอยเล็ก
พระเกศเป็นรูปเปลวเพลิง
พระวรกายชะลูดพองาม
เส้นสายรอบนอกไหลพริ้ว งดงามพอเหมาะพอเจาะ
ชายผ้าสังฆาฎิทอดยาวลงมาเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ เสมอพระนาภี


ถ้าเป็นปางมารวิชัยพระกรจะทอดลงพระเพลาอย่างพองาม การขัดสมาธิราบซ้อนกันของพระเพลาจะแอ่นขึ้น พองามและหากเป็นปางลีลาจะมีความรุ้สึกเหมือนโน้มเดินไปข้างหน้า พระพุทธรูปสุโขทัยที่เด่นๆนั้น เราสามารถหาดูได้ที่ระเบียงวัดเบญจบพิตรฯ กรุงเทพมหานคร (โดยเฉพาะ พระพุทธรูปปางลีลาที่กล่าวกันว่างดงามที่สุดตั้งอยู่มุมซ้ายมือประตูทางออกด้านหลัง) พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกและพระศรีศากยมุนีในวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร หากมีโอกาส ควรไปสักการะและพินิจดูความงามกัน ท่านจะรู้สึกอิ่มเอิบแล้วจะเห็นด้วยว่าข้อเขียนข้างต้นเป็นจริง แต่มีข้อแนะนำก็คืออย่าดูช่วงเวลาสั้นๆ ให้เพ่งพินิจดูนานๆ
ภาคภาษาไทย โดย กลองสบัดไชย





glyph



บรรณาธิการที่ปรึกษาเนื้อหา : ผศ.ปกรณ์ พรหมวิทักษ์
บรรณาธิการ : แซม ฟอร์คเนอร์



All rights reserved. The content on Thai Art Magazine may be reproduced with express consent from SamForkner dot Org. Copyright © 2005, 2011 Bangkok, Thailand.